รีวิวบริการเก็บเงินปลายทาง COD ไปรษณีย์ไทย & Kerry

! รีวิวนี้ไม่ได้ต้องการที่จะต่อต้านผู้ให้บริการเจ้าไหนทั้งนั้น  เป็นเพียงการรีวิว เพื่อประโยชน์ของคนอาชีพ "แม่ค้าออนไลน์" สุดท้าย แต่ละคนจะเลือกใช้บริการเจ้าไหนก็อยู่ที่ตัวเองนะคะ !!


หลังจากที่เราเปิดร้านขายชุดชั้นในมาได้ระยะหนึ่ง มีลูกค้าหลายคนสอบถามเรื่องบริการเก็บเงินปลายทางซึ่งตอนนั้นต้องบอกเลยว่าเราไม่คิดที่จะทำ
 
เหตุผลคือกลัวการถูกโกง หรือ กลัวว่าลูกค้าจะไม่รับสินค้า  และทำให้เราต้องสูญเสียเงินค่าส่งสินค้าแบบฟรี ๆ (เพราะนั้นหมายถึงกำไร)

แต่ระยะหลังเริ่มไม่ไหวแล้ว ข่าวเรื่องแม่ค้าออนไลน์โกงเงินลูกค้าบ่อยขึ้น ทำให้ลูกค้าเองก็ไม่ค่อยไว้ใจแม่ค้า  ซึ่งเราเองต้องยอมรับว่าได้รับผลกระทบไม่น้อย

จนเริ่มทดลองใช้บริการ COD ของไปรษณีย์ไทย ซึ่งผลตอบรับเรื่องลูกค้าค่อยข้างดี เพราะลูกค้าหลายรายเลือกใช้บริการ COD แม้จะต้องจ่ายเงินมากกว่าเดิม ที่ร้านขายสินค้าหน้าร้านประมาณ 20% อีก 80% คือการขายออนไลน์ และการขายออนไลน์ 25% ลูกค้าเลือกโอนเงินก่อน แต่อีก 75%  ลูกค้าเลือกใช้บริการ COD ขอสติ๊กเกอร์ได้ที่ทำการไปรษณีย์ได้เลย



จากผลตอบรับที่ดี แน่นอนเราก็ต้องหาช่องทางในการจัดส่งสินค้าแบบเก็บเงินปลายทางรายอื่น ๆ โดยการทดลองใช้บริการของ Kerry  ขอสติ๊กเกอร์จากจนท.เคอรี่ได้เลย


ที่เลือกใช้ Kerry เพราะการจัดส่งที่รวดเร็วครอบคลุมทุกพื้นที่ (จากข้อมูลส่วนตัวที่เคยส่งก่อนหน้านี้) เอกชนเจ้าอื่น ๆ บางพื้นที่ยังไม่ครอบคลุมทำให้การจัดส่งล่าช้า  ส่วนค่าบริการเรียกเก็บเงินปลายทาง 3% เท่ากับไปรษณีย์ไทยอยู่แล้ว

แต่เมื่อลองใช้บริการแล้ว (ทดลองไป 3 ยอด) บอกได้เลยว่า ขอกลับไปใช้บริการไปรษณีย์ไทยเหมือนเดิมดีกว่า  มาดูกันว่าทำไมถึงบอกว่าใช้บริการของไปรษณีย์ไทยดีกว่าของ Kerry
---------------------------------------------------

เริ่มตั้งแต่ค่าธรรมเนียม 3% ซึ่งไปรษณีย์ไทยจะยังไม่หักเงินเรา ณ ตอนส่งสินค้า ระบบจะทำการหักจากยอดที่เรียกเก็บกับลูกค้าและเมื่อยอดหักเหลือเท่าไหร่จะทำการโอนเข้าบัญชี Wallet ครบทุกบาททุกสตางค์

** เน้นว่าทุกสตางค์จริง ๆ **
ยอด 365 หัก 3% (10.95) = 354.05 บ.😊


ส่วนของ Kerry จนท.จะเรียกเก็บตั้งแต่ตอนเราส่งสินค้าเลย และหากมียอดที่ลงท้ายด้วยจำนวนสตางค์เราจะต้องจ่ายเงินให้ Kerry เต็มจำนวนบาทเท่านั้น

2 ยอดนี้ดีที่ส่งพร้อมกัน ถ้าแยกส่งจะโดนเรียกเก็บยอดแรก 365 หัก 3% (10.95) โดนแน่ ๆ 11 บาท // ยอดที่สอง 370 หัก 3% (11.10) โดนแน่ ๆ 12 บาท

บางคนอาจจะมองว่ายอดแค่ไม่กี่สตางค์เอง แต่ในความเป็นจริงลองคำนวณเล่น ๆ ดูว่าหาก Kerry ได้ส่วนต่างสตางค์ไปฟรี ๆ แบบนี้ต่อ 1 บิล

ถ้าบิลละ แค่ 0.50 สตางค์ 1 สาขามีสัก 10 บิล / วัน เท่ากับเงิน 5 บาท แล้ว Kerry มีกี่สาขา แล้วลองคูณจำนวนวันใน 1 เดือนดูสิ

สมมุติมมีแค่ 100 สาขาทั่วประเทศ (ซึ่งในความเป็นจริงเยอะกว่านี้แน่นอน) วันละ 10 บิล ระยะเวลา 1 เดือน  (0.5×10 = 5 / 5×30 = 150 / 150×100 = 15,000 บาท)     😱😱 Oh My God 😱😱

---------------------------------------------
จบจากค่าบริการเรียกเก็บเงินปลายทางก็มาต่อกันที่การจัดส่ง และยอดเงินที่ร้านค้าจะได้รับ วันนี้ยกตัวอย่างมาให้ดูที่ละ 2 เคส ลองดูตามภาพนะคะ

มาเริ่มที่การบริการของไปรษณีย์ไทยก่อนแล้วกัน


ส่งสินค้า 23.7.63 (เย็น) ถึงมือลูกค้า 24.7.63 เงินเข้า Wallet 28.7.63 (ต้องถอนออกไปเข้าบัญชีธนาคารก่อนนะถึงจะได้รับเงินจริง ๆ) โอนจาก Wallet เข้าบัญชี 28.7.63 เงินเข้าบัญชี 29.7.63 (สำเร็จ)



ไปรษณีย์เคสที่ 2

ส่งสินค้า 25.7.63 (เช้า) ถึงมือลูกค้า 27.7.63 เงินเข้า Wallet 29.7.63 (ต้องถอนออกไปเข้าบัญชีธนาคารก่อนนะถึงจะได้รับเงินจริง ๆ) โอนจาก Wallet เข้าบัญชี 29.7.63 เงินเข้าบัญชี 30.7.63 (สำเร็จ)


--------------------------------------------

มาต่อกันที่การบริการของ Kerry

ส่งสินค้า 22.7.63 (เย็น) ถึงมือลูกค้า 25.7.63  ได้รับ email 30.7.63 และมีเงินเข้าบัญชี 31.7.63


Kerry เคสที่ 2


ส่งสินค้า 22.7.63 (เย็น) ถึงมือลูกค้า 27.7.63 เคสนี้ไม่มี email แจ้ง แต่มีเงินเข้าบัญชีวันที่ 3.8.63
และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราตัดสินใจกลับไปใช้บริการ COD ของไปรษณีย์ไทย เพราะอาชีพแม่ค้าอย่างเรา ร้านต้องอาศัยเงินหมุนเวียน



การขายสินค้าแบบเรียกเก็บเงินปลายทาง ทำให้แม่ค้าต้องมีเงินสำรองที่เพิ่มขึ้น (เพราะกว่าจะได้เงินกินระยะเวลาหลายวัน)  ฉะนั้นแบบไหนที่ขายสินค้าได้ดี และได้เงินเร็วมันย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าแน่นอน

** อันนี้ต้องบอกก่อนว่าปกติเราเลือกใช้บริการส่งสินค้าทั้ง 2 เจ้านี้อยู่แล้ว โดยลูกค้าของร้านจะเป็นผู้เลือกเองว่าจะให้จัดส่งกับเจ้าไหน (ค่าบริการจัดส่งที่ต่างกัน และ บริการจัดส่งที่รวดเร็วต่างกัน)

วิธีจับภาพ Screenshot แบบเต็มจอด้วย Firefox


จริง ๆ  แล้ววิธีการจับภาพหน้าจอมีหลากหลายมาก ดังที่เคยเขียนไปแล้ว เช่น 



จับภาพหน้าจอด้วย Snipping Tool แทน PrintScreen ใน Windows 7

วิธีใช้ปุ่ม Print screen

บันทึกภาพหน้าจอและแชร์ด้วย (share and save screenshots to Dropbox)

แปะรูปง่ายๆด้วย ScreenShot ใน Microsoft Office 2010

แต่วันนี้จะมาแนะนำอีกวิธี สำหรับคนที่ใช้ Browser Firefox ซึ่งสามารถจับภาพหน้าจอได้ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมอะไรเพิ่ม มาดูกันครับ

1. เปิดหน้าเว็บที่เราต้องการขึ้นมา ด้วย Browser Firefox

2. คลิกขวาที่พื้นที่ว่างในหน้าเว็บ เลือก > Take a Screenshot


3. จะมีให้เราเลือก จับภาพเฉพาะที่แสดงอยู่หน้าจอ หรือจับภาพเฉพาะจุด โดยเลือกพื้นที่ที่เราต้องการ
โดยการลากเม้าส์เลือก หรือ Save full page คือการบันทึกทั้งหน้าเว็บ (สามารถ save ได้หมดแบบยาว) 



4. เมื่อได้แล้วเลือก Copy หรือ Download 


5.หากเลือก Download จะให้เราเลือกว่าจะบันทึกที่ไหน จากนั้นก็กด Save ได้ภาพหน้าจอทั้งเว็บที่เราต้องการ



ภาพเต็มหน้าเว็บ



วิธีสั่งพริ้นท์เอกสารเสร็จ แล้วไม่ต้องมานั่งเรียงหน้ากระดาษ

สำหรับช่วง Work From Home ของใครหลาย ๆ คนในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถึงแม้งานเอกสารเราจะส่งกันเป็นไฟล์แล้วก็ตาม แต่การพิมพ์หรือที่เราเรียกติดปาดทับศัพท์กันว่าพริ้นท์ (Print) ก็ยังมีความจำเป็นสำหรับในบางงงาน 



และส่วนมากเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ ๆ ก็จะมีฟังก์ชั่นการพิมพ์ที่สามารถตั้งค่าการเรียงหน้ากระดาษจากหน้าไปหลัง หลังไปหน้า หน้าคู่ หน้าคี่และอื่น ๆ

แต่ต้องยอมรับว่า บางท่านก็ไม่ค่อยชำนาญในการใช้เครื่องพิมพ์ หรือการตั้งค่าอื่น ๆ หรือบางทีก็ไปยืมเครื่องเพื่อนบ้านพิมพ์ในขณะทำงานที่บ้าน 55 แล้วไม่อยากไปตั้งค่าอื่น ๆ ของเครื่องเขา

วันนี้มีเทคนิคง่าย ๆ ที่หลายคนก้รู้แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ เดี๋ยวจะร้อง อ๋ออออ เพราะบางครั้งมีเอกสารเป็น10 20 หรือ ร้อย ๆ หน้า ถ้าพิมพ์เครื่องธรรมดา ทำให้ต้องเสียเวลามานั่งเรียงเอกสารใหม่  มาดูกัน

1. เปิดไฟล์เอกสารที่ต้องการสั่งพรินท์

2. ดูว่าเอกสารนั้น ๆ มีจำนวนหน้าทั้งหมดเท่าไหร่









3.สำหรับโปรแกรม Microsoft Word เลือกเมนู File > Print ( หรือกดปุ่ม Ctrl+P)



 

(หรือพวกไฟล์ pdf  ก็เปิดไฟล์ลักษณะคล้าย ๆ กันคือ เลือกเมนู File > Print ( หรือกดปุ่ม Ctrl+P) )




4.ที่ช่อง Pages ใส่เลขหน้าที่จะพิมพ์ โดยใส่เลขหน้าสุดท้าย ขีด หน้าแรก ตัวอย่างนี้ หน้าสุดท้ายคือ 170 – 1 เป็นหน้าแรก




6.จากนั้นก็สั่งพรินท์กระดาษจนเสร็จ

>> เมื่อพิมพ์เสร็จ เราก็จะได้กระดาษหน้าแรกอยู่บนสุด ส่วนหน้าสุดท้ายก็อยู่ล่างสุด (จากเดิมถ้าพรินท์เครื่องธรรมดา หรือไม่ได้ตั้งค่า เราก็ต้องมานั่งลำดับกระดาษใหม่)

จะเห็นว่าบางเรื่องก็เป็นเรื่องง่าย ๆ แต่บางที่ด้วยความเคยชินเราก็ทำแบบเดิมทำให้เสียเวลาไป ลองดุครับแล้วจะเห็นว่าสะดวกขึ้นเยอะ

หมายเหตุ สำหรับเครื่องพิมพ์ที่มีการตั้งค่าหรือสามารถพิมพ์จากหลังมาหน้าอยู่แล้ว วิธีนี้ก็ไม่จำเป็นเป็นนะครับ เดี๋ยวไปตั้งแล้วจะทำให้เสียเวลามากกว่าเดิม 55

ตรวจสอบเลข อย. ปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ปลอม

จากการระบาดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19; โควิด-19) ในช่วงนี้จะเห็นว่าเราต้องหาเจลล้างมือ แอลกฮอล์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ มาไว้ใช้เพื่อป้องกันตัว



ซึ่งจะเห็นว่าตาม Facebook ก็จะมีโฆษณามาหน้าฟีดเราถี่ ๆ หรือตามเว็บ shopping ต่าง ๆ ราคาก็แตกต่างกันไป บางรายก็บอกเลขทะเบียน บางรายก็ไม่บอก บางรายบอกแต่ก็ไม่ตรงกับฉลาก เอ๊ะ ยังไงกันแน่

วันนี้จึงมาบอกวิธีตรวจสอบเบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์ ยาหรืออาหาร นั้น ๆ มีการจดทะเบียน หรือได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ ตรวจสอบการอนุญาต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข  ที่ https://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx

จะมีข้อความต้อนรับเพื่อให้เราแจ้งได้ด้วย

---------------------------------------------------------------------
หากพบความไม่ถูกต้องของข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหาร กรุณาติดต่อสำนักอาหารที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-5907297 หรือ E-mail : food@fda.moph.go.th

หากพบความไม่ถูกต้องของข้อมูลผลิตภัณฑ์ยาและสถานที่ยา กรุณาแจ้งสำนักยาที่ e-mail:Drug-SmartHelp@fda.moph.go.th

หากพบความไม่ถูกต้องของข้อมูลผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย กรุณาแจ้งกลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย e-mail:toxic@fda.moph.go.th
---------------------------------------------------------------------

2. จากนั้นเราก็ดูหมายเลขจากข้างกล่อง หรือภาชนะที่ใส่ผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการตรวจสอบ

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhADLouaAMnC9vT5XQszlDKYlEknyIIEKn8XOKg5j1B27UPm6vHsypUr2usxJampVq-hzej3xOpGZWBe9gCIuuRdWr1h0mNwDWhcoAlUEth5ykPmCpbRC_3SgvqBin1nC0ROqryZW0uOt4/s1600/2020-04-06+16.03.56.jpg
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง

3. กรอกหมายเลขจะใส่ - หรือไม่ใส่ก็ได้ และค้นหาตามชื่อผลิตภัณฑ์ ทะเบียนยา เลขที่ใบรับแจ้ง จากนั้นกดค้นหา


หากพบก็จะมีรายละเอียดดังภาพ และที่สำคัญคือ สถานะต้อง "คงอยู่" 





4. สามารถกดดูรายละเอียดทั้งหมดของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ




เพียงแค่นี้เราก็มั่นใจได้เบื้องต้นว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัยสำหรับเราที่จะซื้อมาใช้หรือไม่ แต่หากไม่แน่ใจควรปรึกษาเภสัชกร/พนักงานขายก่อนใช้  

และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือวันเดือน ปีที่ผลิตและหมดอายุ (สำหรับวิธีการเช็คในเรื่องนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.whoknown.com/2015/03/mfgmfdexp-exd-bb-bbe.html)

เช็คเลขพัสดุไปรษณีย์ (Track Thailandpost) ผ่าน LINE ได้แล้ว

      เช็คเลขพัสดุไปรษณีย์ (Track Thailandpost) ผ่าน LINE ได้แล้ว 
 
ปกติแล้วถ้าหากเราจะตรวจสอบสถานะพัสดุพัสดุไปรษณีย์ไทยนั้น วิธีเดิม ๆ เลยก็คือ

1. เช็คสถานะผ่านเว็บ https://track.thailandpost.co.th



2. ผ่านทาง Apllication Track&Trace Thailand Post 






แต่ตอนนี้ทางไปรษณีย์ไทย มีช่องทางใหม่ในการเช็คหมายเลขพัสดุไปรษณีย์ได้ง่ายขึ้น สำหรับพ่อค้า แม่ค้า หรือสำหรับผู้ซื้อ โดยแค่พิมพ์หมายเลข Tacking ลงใน LINE ก็จะรู้ว่าสถานะพัสดุเราถึงไหนแล้ว

วิธีการใช้งาน 
 
1.  เข้าไปที่แอป LINE ของเรา > กดเข้าไปที่หน้าหลัก > เลือกที่ไอคอนบัญชีทางการ > กดที่บัญชีทางการ


2. พิมพ์ในช่องค้นหาว่า Thailand Post

แล้วทำการเพิ่มเป็นเพื่อน


3. จากนั้นก็ทำการใส่หมายเลขพัสดุที่ค้องการตรวจสอบ โดยกดที่ไอคอนในเมนูด้านล่างตรงคำว่า “ติดตามพัสดุ”  เมื่อพิมพ์หมายเลข Tracking แล้วรอไสักครู่ ระบบก็จะรายงานให้ทราบว่าตอนนี้ถึงไหนแล้ว


แต่เท่าที่ทดลองใช้ ยังมี error นิด ๆ เช่นส่งสถานะเดิมมาซ้ำ ๆ กันหลายรอบ







และของ Thailand Post ยังมีฟังก์ชั่นอื่น ๆ เช่น หาตำแหน่งที่ตั้งไปรษณีย์ที่ใกล้ บริการ LINE MAN เพื่อเรียกมารับพัสดุ และอื่น ๆ ซึ่งบางเมนูอยู่ในระหว่าพัฒนา เช่นเมนูสร้างใบจ่าหน้า



จากเท่าที่ทดลองก็คิดว่าสะดวกในระดับหนึ่งที่เราไม่ต้องลง Application เพิ่มเติมในเครื่อง หรือต้องคอยเปิดเว็บเพื่อตรวจสอบ เพราะปกติพอค้า แม่ค้าส่วนใหญ่ก็ใช้ LINE แชทกับลูกค้าอยู่แล้ว บริการนี้ก็คงจะถูกใจไม่มากก็น้อย ลองใช้กันดูนะครับ
Advertisement