แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาหาร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาหาร แสดงบทความทั้งหมด

อาหารอีสานรสเด็ด “ก้อยหอยเชอรี่”

          ไปเหนือคราวนี้ อาหารอีกจานที่ผมได้ลองทานคือ “ก้อยหอยเชอรี่” ครับ หอยนี้จะใช้ หอยโข่งหรือหอยเชอรี่ก็ได้ แต่ในที่นี้ที่เค้าหามาได้เป็นหอยเชอรี่ครับ เห็นน่าอร่อยดี เลยขอวิธีทำมา มาดูกัน
เครื่องปรุงประกอบไปด้วย 
- หอยโข่ง หรือ หอยเชอรี่ (ต้องทำให้สุกนะครับ เพราะมันมีพยาธิมาก)
- พริกป่น
- ข้าวคั่ว
- เกลือ
- น้ำปลา
- ต้นหอม + ผักชี
- หอมแดง
- ผักชีฝรั่ง
- สะระแหน่
- มะนาว

วิธีทำ

- เริ่มด้วยการลวกหอย แค่พอให้ฝาเปิด เดี๋ยวหอยจะเหี่ยวเกิน เนื้อไม่อร่อย จากนั้นก็แกะเอาแต่เนื้อหอยมาล้างให้สะอาด ถ้าจะให้ดีขย้ำกับเกลือเล็กน้อย 

 จากนั้นก็หั่นหอยเป็นชิ้นๆ

- เข้าสู่ขั้นตอนการปรุงเลยแล้วกัน   ง่ายๆ แบบบ้านๆ ด้วยการหั่นหอมแดง ต้นหอม ผักชี ผักชีฝรั่ง สะระแหน่ซอย

นำลงไปคลุก ตามด้วยพริกป่น (เผ็ดมากเผ็ดน้อยตามชอบ) ใส่ข้าวคั่ว ตามด้วยเกลือเล็กน้อย เหยาะน้ำปลาลงไปอีกนิดหน่อย อย่ามากเดี๋ยวเค็มแล้วจะหาว่าไม่เตือน  สุดท้ายเพิ่มความเปรี้ยวด้วยน้ำมะนาว ของทุกอย่างใส่ได้ตามชอบ

 - จากนั้นก็คลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ


เท่านี้ก็ได้เมนู “ก้อยหอยเชอรี่” อร่อยๆแล้ว ถ้าได้นั่งจิบกับเบียร์เย็นๆ ขอบอกว่าแซ่บหลาย ^_^

ฝากด้วยสาระจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/หอยเชอรี่
          หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (อังกฤษ: Golden applesnail, Channeled applesnail; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacea canaliculata) เป็นหอยน้ำจืดจำพวกหอยฝาเดียว สามารถแบ่งหอยเชอรี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2 – 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1 – 2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2 – 3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ประมาณ 388 – 3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7 – 12 วัน หลังวางไข่

        
http://th.wikipedia.org/wiki/ก้อย
          ก้อย เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน คล้ายกับลาบ และ ส้มตำ นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบรวมถึงไข่และตัวอ่อนของแมลงทีกินได้ เช่น เนื้อวัว เนื้อกวาง เนื้อเก้ง เนื้อหมูป่า เนื้อปลา (ตะเพียน หรือ ปลาขาว) กุ้งฝอย หอยเชอรี่ กิ้งก่า (กะปอม) ไข่มดแดง ไข่แมงมัน ตัวอ่อนตัวต่อเป็นต้น ไม่นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ เพราะจะมีกลิ่นคาว และเหม็นสาบ รุนแรง

ต้มยำปลารสแซ่บ

                                                   ต้มยำปลารสแซ่บ
เครื่องปรุง
1. ปลาหั่นเป็นชิ้น (แล้วแต่ชอบเนื้อปลาอะไร ปลานิล ปลาช่อน ปลาทับทิมฯลฯ)
2. เห็ดฟาง
3. ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด
4. พริกสด
5. เกลือป่น
6. มะนาว
7. มะเขือเทศ (หั่นเป็นชิ้น)

วิธีทำ
1. ตั้งหม้อให้น้ำพอเดือดใส่ตะไคร้


ตามด้วยข่าหั่นเป็นชิ้น


ใส่เกลือประมาณ 2 ช้อนชา


2. โขลกพริกสดใส่ตามชอบ (ชอบเผ็ดก็ใส่เยอะหน่อย)  
ตามด้วยน้ำมะนาวสัก 2 ลูก ค่อยๆใส่ อย่าให้เปรี้ยวเกิน เดี๋ยวจะแก้ไขลำบาก หากยังไม่เปรี้ยวก็เพิ่มมะนาวตามที่หลังได้ 



จากนั้นก็ตามด้วยมะเขือเทศและเห็ดฟาง



3. รอให้หม้อเดือดเต็มที่ ใส่เนื้อปลาลงไป (ใส่เนื้อปลาแล้วห้ามคนหม้อนะคะ นอกจากจะทำให้เนื้อปลาเละ อาจทำให้มีกลิ่นคาวได้)
รอให้เนื้อปลาสุกใส่ใบมะกรูด ก็เป็นอันเสร็จสิ้น


ง่ายๆเท่านี้คุณก็จะได้กินต้มยำปลารสแซ่บ แบบง่ายๆ แต่รสชาติอร่อยแน่นอนคะ



น้ำยากะทิปักษ์ใต้

         หลายๆคนคงเคยได้ทานขนมจีนน้ำยากะทิปักษ์ใต้ แล้วรู้สึกติดใจอยากจะลองทำกันบ้าง วันนี้มารู้จักขั้นตอนการทำน้ำยากะทิกันสักหน่อยไหม



เริ่มตั้งแต่การทำพริกแกงเผ็ด  ส่วนผสมดังนี้
1. พริกแห้งหรือพริกสดก็ได้ค่ะ (แล้วแต่ชอบ)
2. ขมิ้น (หั่นเป็นชิ้น)
3. เกลือ
4. กระเทียม (แกะเปลือกออก)
5. ตะไคร้ (หั่นเป็นชิ้น)
6. พริกไทยเม็ด
7. ผิวมะกรูด (อันนี้เพิ่มความหอมหากไม่ชอบไม่ใส่ก็ได้)
   นำส่วนผสมทั้งหมดโขลกให้ละเอียดกะปริมาณตามชอบค่ะ ชอบเผ็ดมากก็ใส่พริกกับขมิ้นเยอะหน่อย
(หากไม่สะดวกในการทำพริกแกง) เราก็หาซื้อตามท้องตลาดได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรมาจากทางภาคใต้โดยตรง เพราะจะได้รสชาติของความเผ็ดร้อนแบบภาคใต้จริงๆ (สำหรับผู้เขียนแล้วขอใช้พริกแกงที่ซื้อมาจากท้องตลาดในการทำนะคะ  เพราะสะดวกรวดเร็วกว่าเยอะเลย)

Advertisement