แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศรีสะเกษ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ศรีสะเกษ แสดงบทความทั้งหมด

เที่ยวปราสาทสระกำแพงใหญ่ (Prasat Sa Khamphaeng Yai)

          หลังจากครั้งที่แล้ว เดินทางไกลครั้งแรกกับรถไฟตู้นอน ชั้น 2  ไปจังหวัดศรีษะเกษนั้น ขากลับได้แวะเที่ยว ปราสาทสระกำแพงใหญ่  ส่วนใครจะเดินทางมาจากทางอื่น การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ห่างจากตัวจังหวัด 26 กิโลเมตรและ ห่างจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตรครับ


แต่เสียดายอย่างมาก เนื่องจากขากลับมีเวลาจำกัด ได้รูปมาเพียงไม่กี่รูปเอง แต่ก็ไม่เป็นไรครับ ถือว่าได้จำไว้ในสมองแล้ว เรามาดูประวัติของที่นี่กัน


(ข้อมูลเกือบทั้งหมดจากป้ายด้านล่างครับ )


ปราสาทสระกำแพงใหญ่ มีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์ประธานองค์กลางก่อด้วยศิลาทราย ส่วนปรางค์อีก 3 องค์มีขนาดเล็กกว่าก่อด้วยอิฐด้านหลังของปรางค์องค์ทิศใต้มีปรางค์ก่อด้วยอิฐอีกองค์หนึ่ง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเช่นเดียวกัน นอกจากปรางค์ทั้งสี่องค์นี้แล้ว. ด้านหน้าของปรางค์องค์รองสององค์ มีวิหารก่อด้วยอิฐด้านละหนึ่งหลังหนันหน้าเข้าหาปรางค์ทั้งสององค์ สิ่งก่อสร้างทั้งหมดล้อมรอบด้วยระเบียคดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงและศิลาทราย กว้าง 54 เมตร ยาว 62 เมตร มีโคปุระหรือซ้อมประตูทั้งสี่ทิศจากการขุดแต่งปราสาทแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2531 - 2533 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก และรวมทั้งจากจารึกที่ประตูด้านทิศ่ตะวันออก ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทสระกำแพงใหญ๋ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะแบบบาปวน (ราว พ.ศ. 1550 - 1650) เพื่อเป็นเทวาลัยถวายพระศิวะตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย และได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนานิกายมหายานในพุทธศตวรรษที่ 18.


Prasat Sa Khamphaeng Yai is a Khmer sanctuare comprises of three prangs or shrine on the same pedestal oriented to the east. The middle main prang is made of sandstone while the two smaller made of bricks, which the southern one has a small brick prang behind and also faces to the east. Besides four structures that mentioned there are two Vihans made of bricks in front of two bick "Prangs" faces to the west. They are all surrounded with laterite and sandstone gallery about 54 metres width and 62 metres long. According to the Khmer inscription in the east "Gopura" which is the main entrance and ancient relic that found in this area can be dated that this monument was constructed in 11th century A.D. in the Baphoun style in order to present to god Shiva of Hinduism Shivate. Later in 13th century A.D. It had been converted into a temple of Bhuddism Mahayana Sect.






 



เดินทางไกลครั้งแรกกับรถไฟตู้นอน ชั้น 2

          ต้นเดือนเมษายน 2556 มีธุระที่จะต้องไปร่วมงานแต่งงานเพื่อนที่ศรีสะเกษ ด้วยความอนุเคราห์จากเพื่อน ได้ตั๋วรถไฟมา เป็นตั๋วรถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ ( บนท.ป.) มีเพื่อนร่วมเดินทาง

4 คนด้วยกัน ปลายทางคือชุมทาง อุทมพรพิสัย  เนื่องจากสถานที่จัดงาน หากเดินทางโดยรถไฟจะสะดวกที่สุด เพื่อทางเจ้าภาพจะมารับไปบ้านเจ้าสาวได้ ... แต่ในบรรดาเพื่อนทั้ง 4 คนต้องยอมรับว่า ไม่มีใครเคยนั่งตู้นอนชั้น 2 เลย ไอ้ที่เคยนั่งก็ตู้ชั้น 2 นั่งธรรมดา ส่วนผู้เขียนเอง จำได้ว่านั่งครั้งสุดท้าย ตอนขึ้นมาเรียน กทม. ใหม่่ๆตั้งแต่ปี 2545

ก่อนเดินทางขอศึกษาข้อมูลพื้นฐานเล็กน้อย
ชื่ออักษรไทย     ศรีสะเกษ
ชื่ออักษรโรมัน     Si Sa Ket
ชื่อไทยอื่นๆ    ศรีนครลำดวน, ขุขันธ์, คูขันธ์, คูขัณฑ์
ผู้ว่าราชการ     นายประทีป กีรติเรขา
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2554)
นายกองค์การบริหาร     นายวิชิต ไตรสรณกุล
ISO 3166-2     TH-33
สีประจำกลุ่มจังหวัด     สีส้ม
ต้นไม้ประจำจังหวัด     ลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัด     ลำดวน 


คำขวัญประจำจังหวัด : 
หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จเขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี
ที่มา : wikipedia
ตั๋วรถที่เราได้เป็นเวลา 20.30 น. เวลาถึง (ในตั๋ว) 05.54 น. ที่ต้องบอกว่าในตั๋ว เพราะรู้ๆกันอยู่ว่ารถไฟไทยเป็นยังไง ไม่ Late นะไม่ใช่ 55 มาถึงหัวลำโพงก็เช็คตารางหน่อยว่ารถจะออกตรงเวลาไหม ดูจากตารางก็ไม่ได้เสียเวลา ตรงไปชานชลาที่ 9 ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 67 ปลายทางอุบลราชธานี ตกลงไม่เกิน 3 ทุ่มเราก็ได้ออกจากหัวลำโพง





รถตู้นอนชั้น 2 จะแบ่งเป็นสองฝั่ง ชั้นบนและชั้นล่าง เลขที่นั่ง 1 จะเป็นชั้นบน 2 จะเป็นชั้นล่าง (ไม่แน่ใจว่าเหมือนกันทุกขบวนหรือเปล่า) และราคาจะไม่เท่ากันคือชั้นบนจะถูกกว่าชั้นล่าง ชั้นล่างที่แพงกว่าเพราะพื้นที่มากกว่า และมีหน้าต่าง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ ถ้าเรานั่งเวลาประมาณนี้ นั่งได้ซักพัก เจ้าหน้าที่ก็จะมาปูที่นอนให้ และเราก็ต้องขึ้นนอน ถ้าไม่ได้ด้วยกันทั้งชั้นบนและล่าง เพราะเกรงใจคนอื่นเหมือนกัน  บรรยากาศภายในตู้นอน จะมีลักษณะดังนี้



 



          ต้องขอบอกว่าตู้นอนอากาศเย็นมากๆ จะว่าหลับสบายไหม คงไม่ใช่ แต่ก็ดีกว่ารถไฟธรรมดา แต่ถ้านอนชั้นล่างคงหลับสบายกว่า เราเริ่มเข้าสู่เขตจังหวัดศรีสะเกษตอนเกือบ 7 โมง ซึ่งประมาณ 8 โมงกว่าๆ เจ้าหน้าที่ก็จะเริ่มาเก็บที่นอนให้เราแล้ว  พวกเราถึงปลายทางเอาเข้าจริงก็ปาเข้าไป 9 โมงครึ่งก็มาถึงสถานีชุมทางอุทมพรพิสัยครับ





เสียดายครับ รูปถ่ายถ่ายกัลกล้องมือถือเลยไม่ค่อยชัด หากใครสนใจจะเดินทางแบบเรื่อยๆ ไม่รีบร้อย นับว่าการเดินทางกับรถไฟก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบหนึ่ง ส่วนใครสนใจลองนั่งตู้นอนแบบผมบ้างก็ลองดูรายละเอียด และเส้นทางของการรถไฟที่นี่ได้ครับ > http://www.railway.co.th/home/srt/passenger/bogie.asp 

ส่วนโอกาสหน้าจะเอาภาพบรรยากาศวัดสระกำแพงใหญ่มาให้ชมครับ

 

Advertisement