แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัดขนาน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัดขนาน แสดงบทความทั้งหมด

พระพุทธรูปข้างแม่น้ำตาปี อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (อุทยานพระพุทธศาสนา)

          หากใครผ่านไปแถวสะพานข้ามแม่น้ำตาปี ( ถ้าขับรถไปทางสุราษฎร์ธานี จะอยู่ด้านซ้ายมือ หรือถ้าลงมาจากสุราษฎร์ ไปทางทุ่งสงก็จะมองเห็นอยู่ทางขวามือ ) ตอนนี้จะเห็นมีการก่อสร้างพระพุทธรูปอยู่หลายองค์ เห็นว่าจะสร้างประมาณ 50 องค์นะครับ แต่ข้อมูลการสร้าง วัตถุประสงค์ งบประมาณในการสร้างนี่ เดี๋ยวถ้ามีข้อมูลแน่ชัด จะมา update ให้ทราบอีกครั้ง  อย่างด้านล่างที่สร้างไปแล้วบางส่วน



บริเวณที่ก่อสร้างครับ จะอยู่ติดถนนเลย หรือถ้าขับเข้าไปในบ้านตาราง อยู่ทางขวามือ หรือตาม google map ที่ https://goo.gl/maps/sdj3DcpA4NR2



 อันนี้ตอนที่ทำพิธี 





 
update 15-2-58










แห่จาดเดือนสิบ วัดหนาน ทุ่งใหญ่

          งานเดือนสิบปีนี้วัดหนาน (วัดขนาน) ก็จัดเป็นประจำทุกปี ปีนี้วันแห่จาดก็ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม 2556 คนมากันมามายครับ มีจาดอยุ่หลายสิบลูก แต่ละลูกก็ประดิดประดอยกันตามแบบใครแบบมันครับ สนุกสนานกัน










จระเข้ วัดขนาน

          หากใครผ่านไปผ่านมาแถวๆวัดขนานช่วงนี้ จะสังเกตุว่า จะมีคนที่มายืนดูอะไรที่หน้าบ่อ ที่อยู่ด้านข้างวัด .... นั่นก็คือจระเข้ตัวเขื่อง เห็นเค้าบอกว่าน้ำหนักประมาณ 700 กว่ากิโลกรัม ชื่อ "น้องนาเดียร์" รูปด้านล่าง รูปแรกก็เป็นตอนที่เค้าเอามันลงไปอยู่ในบ่อ








ขนาดมันขณะที่ขึ้นมาอยู่บนบก ตัวใหญ่ไหมละ

update ล่าสุด หลังจากมีข่าวจระเข้อีกตัวที่กัดแม่ชี ตอนนี้ได้เอาทุกตัวไปไว้ที่ทุ่งท่าลาด นครศรีธรรมราชแล้วครับ

วัตถุมงคลวัดขนาน

          เคยเขียนเกี่ยวกับประวัติของวัดขนาน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มาแล้วครั้งหนึ่ง วันนี้จะขอกล่าวถึงวัตถุมงคลวัดขนานที่เคยออกมา
          รุ่นเมตตามหาลาภ (หลวงพ่อนวล) พิธีมหาพุทธาพิเษก 6 สิงหาคม 2548 ด้านล่างนี้เป็นเนื้อว่าน



         สำหรับองค์ด้านล่างนี้จะเป็นแบบเนื้อเงิน
    
         ส่วนองค์ด้านล่างนี้จะเป็นเนื้อว่าน ขนาด 5 ซม.


  
ส่วนด้านล่างนี้จะเป็นล็อกเก็ตพ่อท่านนวล ปริสุทโธ ซึ่งจะมีสีตามสีประจำวันเกิด ซึ่งผูเขียนเองได้เช่าบูชามา ตามด้านล่างนี้จะเป็นประจำวันจันทร์





ส่วนรุ่นอื่นที่มีอีกก็คือ งานปิดทองฝังลูกนิมิต วัดขนาน ระหว่างวันที่ 19-28 ะันวาคม 2549

- หลวงพ่อชื่น อินทสุวรรณโณ วัดใหม่



 - หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก


ยังมีอีกหลายแบบ แต่ผู้เขียนมีรูปเพียงแค่นี้ ไว้โอกาสหน้าถ้ามีรูปเพิ่มเติม จะมาเพิ่มเติมต่อไปครับ

วัตถุมงคลวัดขนาน

          เคยเขียนเกี่ยวกับประวัติของวัดขนาน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มาแล้วครั้งหนึ่ง วันนี้จะขอกล่าวถึงวัตถุมงคลวัดขนานที่เคยออกมา

          รุ่นเมตตามหาลาภ (หลวงพ่อนวล) พิธีมหาพุทธาพิเษก 6 สิงหาคม 2548 ด้านล่างนี้เป็นเนื้อว่าน

ประวัติวัดขนาน หรือ วัดหนาน

ประวัติวัดขนาน หรือ วัดหนาน

          วัดขนาน ตั้งอยู่บ้านวัดหนาน เลขที่ ๓๗/๑ หมู่ที่ ๔ ถนนทุ่งใหญ่-วัดขนาน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่๘๗๕ ไร่ ส.ค.๑ เลขที่ ๓๔๘ อาณาเขต ทิศเหนือจดขนนานรูป ทิศใต้จดนานายทัด กลิ่นแก้วทิศตะวันออกจดต้นไม้หลุมพอและขนานใหญ่ ทิศตะวันตกจดวัดเก่า มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลง ดังนี้

          แปลงที่ ๑ เนื้อที่ ๑๘ ไร่ ส.ค.๑ เลขที่ ๓๔๙ ทิศเหนือจดเดิมทางสาธารณะทิศใต้จดที่ดินนานายแสง  ชูชาติ ทิศตะวันออกจดวัดขนานทิศตะวันตกจดคลองปริก
          แปลงที่ ๒ เนื้อที่ ๔ ไร่ ส.ค.๑ เลขที่ ๓๕๐ ทิศเหนือจดคลองบอดทิศใต้จดพื้นที่บ้านนายแสงทิศตะวันออกจดทางเท้าและต้นสะตอบ้านนายริ่น ทิศตะวันตกจดสายน้ำลุ่ม

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

     ๑)    อุโบสถ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๙ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

     ๒) โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดขนาน กว้าง ๖ เมตร ยาว ๔๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงปั้นหยา ๒ ชั้น

     ๓) อาคารสำนักงานกลางเจ้าอาวาส กว้าง ๘ เมตร ยาย ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น

     ๔) กุฏิสงฆ์ จำนวน ๒๓ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

    ๕) ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

    ๖) ศาลาหอฉัน กว้าง ๒๑ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

    ๗) ร้านค้าสวัสดิการ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

    ๘) ศาลาแปดเหลี่ยม สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗

    ๙) หอกลอง ฆ้อง ระฆัง จำนวน ๓ ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘ 

   ๑๐) ห้องน้ำ - ห้องส้วม จำนวน ๔ หลัง รวม ๓๕ ห้อง


ปูชนียวัตถุ  ประกอบด้วย

          ๑) พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๐ น้ว สูง ๑๐๐ นิ้ว

สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖

         ๒) พระประธานประจำศาลาใจมูลตระกูลดิษฐ์ ปางพระพุทธชินราช ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว สูง ๘๐ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘         

         ๓) ซุ้มประตู จำนวน ๒ ซุ้ม สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙

         ๔) ศาลปู่เจ้าเทวดาหนานรูป สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙                                 

     วัดขนานเดิมชื่อ "วัดหนาน" เพราะสภาพพื้นที่ทั่วไปจำนวน ๘๗๕ ไร่ เป็นแผ่นหินทรายแดงมีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ ลุ่มๆ ดอนๆ มีต้นไม้ขึ้นบ้างในบริเวณที่มีแผ่นหินหนานซึ่งไหลมาขังเป็นบริเวณ ไม่มีใครจับจองเป็นเจ้าของ สาเหตุเนื่องมาจากสภาพหินดังกล่าวไม่เหมาะต่อการสร้างบ้านเรื่องและไม่เหมาะแก่การเพราะปลูก ทำไร่ ทำนา เดิมชาวบ้านวัดหนานนับถือและบูชาเทวดาหนานรูป ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านเรียกว่า "เทวดาหนานนุ้ย เทวดาหนานใหญ่" ที่เรียกว่าเทวดาหนานนุ้ย เนื่องมาจากหินทรายแดงตะปุ่มตะป่ำไม่สูงไม่ใหญ่ต่างกับเทวดาหนานใหญ่ ซึ่งมีสภาพพื้นที่หินทรายแดงลุ่มๆ ต่ำๆ มากมาย และมีนำใต้โขดหินหนาน ส่วนเทวดาหนานรูป เป็นเขตแดนวัดซึ่งมีรูปกินรี ถือพญานาค แกะสลัก สถานที่ดังกล่าวทั้งสองแห่งมีความคล้ายคลึงกัน ทั้งสองสถานที่มีความอาถรรพ์ ซ่อนเร้นภายในบริเวณจนกระทั่งชาวบ้านวัดหนานรุ่นเก่าเล่าขานกันอย่างกว้างขวาง ถึงเรื่องราวความอาถรรพ์  และความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ดังกล่าว

             วัดหนาน เป็นสถานที่วิเวกไม่มีผู้คนพลุกพล่าน และห่างไกลจากชุมชนและผู้คนพระธุดงค์และพระภิกษุนักปฏิบัติธรรมมีความนิยมชมชอบมาอาศัยประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๕๙ พ่อหลวงนาค หรือ พระครูอานนท์สิกขากิจมาจัดสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
      
          พ.ศ.๒๔๖๙ - ๒๒๗๓ พ่อหลวงหมื่นแผ้ว เดินทางมาจากสถานที่อื่น ได้มาจำพรรษาได้ชักชวนชาวบ้าน หักร้างถางพงบริเวณริมคลองบ้านหัวสะพาน ก่อสร้างเป็นวัดหนานได้สร้างโรงเรียนวัดหนานขึ้น ซึ่งสถานที่ดังกล่าวปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าที่วัดเก่า โรงเรียนเก่า

         พ.ศ.๒๔๗๓ พ่อหลวงรื่นได้เข้ามาจำพรรษาปฏิบัติธรรม และชอบพอสถานที่ทางด้านทิศตะวันออกของสถานที่ตั้งโรงเรียนวัดหนานเก่า  ซึ่งเป็นที่เนินสูงระหว่างเนินสูงกับสถานที่ตั้งโรงเรียนวัดหนานเก่า เป็นสถานที่สถิตเทวดาหนานนุ้ย  ทางด้านทิศตะวันออกของเนินสูงเป็นตาน้ำซึ่งผุดมาจากหินหนาน ผุดแรงตลอดปีได้ชักชวนชุมชนรอบข้างปลูกสร้างเป็นสถานที่หรับปฎิบัติธรรม

          พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๘๑ หลวงพ่อเลื่อน นามสกุล ศรีสุขใส หรือ พระครูไพศาลธรรมโสภณ มาจำพรรษาที่วัดขนาน

          พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๑ มีหลวงพ่อแสง ชูชาติ บวชที่วัดภูเขาหลัก มาร่วมปฏิบัติธรรมได้ถวายที่ดิน ณ บ้านท่าโรงสูบ ๑ แปลง จำนวน ๔ ไร่ โดยมีหลักฐานการถวายดังนี้ แผนที่ธรณีสงฆ์วัดขนานบ้านท่าโรงสูบ สค.๑ เลขที่ ๓๕๐ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๔ อาณาเขตทิศเหนือจากสายน้ำถึงบ้านนายริ่น ยาว ๒ เส้น ทิศตะวันออก จากบ้านนายริ่นยาวถึงบ้านนาย แสง ชูชาติ ถึงสายน้ำยาว ๒ เส้น ทิศตะวันตก ยาวตามสายน้ำถึงคลองบอดยาว ๒ เส้น รวม ๔ ไร่

 ปัจจุบัน สค.๑ เลขที่ ๓๕๐ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ จำนวน ๔ ไร่ ทิศเหนือติดคลองบอด ทิศใต้ติดบ้านนายชู ทิศตะวันออกจดทางเดิน ทิศตะวันตกติดบ้านนายเหนียว                                  

          พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๔ พ่อหลวงส้วง นามสกุล ดาวกระจาย รักาการแทนเจ้าอาวาส     

          พ.ศ.๒๔๘๔-๒๔๙๐ พ่อหลวงเริ่ม นามสกุล แสงระวี เข้าจำพรรษาปฏิบัติธรรมรักษาการแทนเจ้าอาวาส

         พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๘ พ่อหลวงสวาท ฉายา อโสโก นามสกุล เจริญรูป จำพรรษาและได้ชักนำชนชาว วัดหนานสร้างโรงธรรมไม้หลังเก่า รักษาการแทนเจ้าอาวาส

        พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๓๐ มีพระสมุห์ประสิทธ์ จิตตฺโสภโณ นามสกุลรักษามั่น เป็นสมัยแรกที่วัดขนานได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้จัดทำหลักฐานของวัดทั้ง ๓ แปลง โดยแปลงที่ ๑ ตามหลักฐาน สค.๑ เลขที่ ๓๔๙ จำนวน ๘๗๕ ไร่ (พ.ศ.๒๔๙๔) ทิศตะวันตกจากวัดเก่าถึงขนานรูปยาว ๓๕ เส้น ทิศเหนือจากขนานรูปถึงตอไม้พอยาว ๒๕ เส้น ทิศตะวันออกจากตอไม้พอถึงนานาย เผียน กลิ่นแก้ว ยาว ๓๕ เส้น ทิศใต้จากนานายเผียน กลิ่นแก้ว ถึงวัดเก่ายาว ๒๕ เส้น  แปลงที่ ๒ เนื้อที่ ๑๘ ไร่ สค.๑ เลขที่ ๓๔๙ นส.๓ เลขที่ ๒๕๔๙ เล่มที่ ๒๕ ข.หน้า ๒๙ เลขที่ ๑๕ หมายเลข ๔๘๒๕ พ.ศ.๒๕๒๘ ทิศเหนือ จากคลองปริกถึงทางสาธารณะยาว ๖ เส้น ทิศตะวันออกจากทางสาธารณะถึงที่ดินนาย แสง ชูชาติ ตามแนวคลองปริก ยาว ๓ เส้นแปลงที่ ๓ ปัจจุบัน พ.ศ.๒๔๙๘ บ้านท่าโรงสูบ เลขที่ ๓๕๐

         พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ วัดหนานได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดขนานเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ ตามชื่อพระราชทานวิสุงคามสีมาให้ชื่อวัดขนานเพราะเหตุวัดขนานได้สร้าวัดคู่กับโรงเรียน และควบคู่กับการประพฤติปฏิบัติธรรมย้ายสถานที่ก็ย้ายมาด้วยกันซึ่งโรงเรียนคู่กับวัด ปี พ.ศ.๒๕๓๐ วัดได้อนุญาตให้โรงเรียนทุ่งใหญ่เฉลิมราชอนุสรณ์ รัชมังคลาภิเษกใช้สถานที่ในเนื้อที่ ๔๐ ไร่เศษเป็นโรงเรียนคู่วัดคู่บ้าน

        พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๔ พระใบฎีกาแจ้ง เปสโล นามสกุล เพชรอาวุธ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดขนาน วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ โดยถูกต้องตามกฎหมายถึงปัจจุบัน ชื่อ พระปลัดวิรัตน์ ฐานปุญโญ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทุ่งใหญ่รูปที่ ๖ ของอำเภอทุ่งใหญ่ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙

    สอบพระอุปัชฌาย์ได้เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับพระราชทินนามเป็น พระครูพิศาลเขตคณารักษ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒

     วัดขนานมีจิตรกรรมผนังถ้ำหินทรายแดง เรียกหนานรูปแกะเป็นภาพนางกินรีถือพญานาคซึ่งส่วนราชการสำรวจและอนุรักษ์ถ้ำหนานหนานรูปให้เป็นภาพจิตรกรรมคู่บ้านคู่เมือง ส่วนราชการรับรองให้หนานรูป เป็นจิตรกรรมเก่าแก่ อนุรักษ์หนานรูป ให้เป็นสถานที่ศึกษาจิตรกรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งในอำเภอทุ่งใหญ่


จุดประสงค์ของการสร้างวัดขนาน

           เดิมพระสงฆ์ผู้คงแก่การปฏิบัติเป็นสถานที่วัดขนานได้ชอบใจ ติดใจวัดหนานจึงเป็นวัดปฏิบัติธรรม เป็นเป้าหมายหลักควบคู่กับการศึกษาพระปริยัติธรรมตลอดมา  จึงได้นามวัดหนาน ( ขนาน) ตามความประสงค์ของประชาชนว่าวัดขนานต้องควบคู่ทั้งปฏิบัติและปริยัติ วัดขนานจึงต้องควบคู่กับการศึกษาตลอดไป วัดขนานจึงมีโรงเรียนประถม และโรงเรียนมัธยม มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรม-บาลี-สามัญ มีศูนย์เด็กเล็กก่อนเกณฑ์ (อนุบาล)และการศึกษานอกโรงเรียน

          วัดขนานเป็นวัดที่ ๗ ในอำเภอทุ่งใหญ่ที่มีการผูกพัทธสีมา ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี และครบรอบ ๑๐๐ ปีในการก่อตั้งอำเภอทุ่งใหญ่


ที่มา : หนังสือ ที่ระลึกปิดทองฝังลูกนิมิต ผูกพัทธสีมา แลองช่อฟ้า ณ อุโบสถวัดขนาน ต.ทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ๑๙-๒๘ ๒๕๔๙



Advertisement