ช่วงปีใหม้ที่ผ่านมา มีโอกาสขึ้นไปที่เชียงราย ซึ่งตอนปลายปีทุกปี ทางเชียงรายก็มีการจัดงานต่างๆมากมาย อย่างงานที่ผมไปคราวนี้ ก็เป็นงาน มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย 2014 ซึ่งก็มีดอกไม้สวยๆ นานาพันธุ์ มากมายมาจัดแสดง แต่สิ่งหนึ่งที่จะกล่าวในตอนนี้ก็คือ ตรงบริเวณลาดวัฒนธรรมอาเซียน สายตาเหลือบไปเห็น เป็น จำลองวิถีชีวิตชนชาติพันธุ์ไตลื้อ (ไทลื้อ)
โดยที่ป้าย ก็มีประวัติให้อ่าน ดังนี้
ประวัติความเป็นมา
ไตลื้อ (ไทลื้อ) มีถิ่นที่อยู่บริเวณเมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า "ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส (คุนหมิงในปัจจุบัน) แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มแม่น้ำโขง (สิบสองปันนาในปัจจุบัน) ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศพม่า ลาว และไทย
วิถีชิวิตความเป็นอยู่
การตั้งบ้านเรือนหรือหมู่บ้าน จะหาทำเลที่มีแม่น้ำ ลำคลองอยู่ใกล้หมู่บเาน สะดวกในการเพาะปลูก ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง พึ่งพาตนเอง ชาวไทลื้อมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เคารพนับถือพ่อแม่ ผู้มีอาวุโส ปู่ย่า ตาทวด และบรรพบุรุษ
เสียดายที่ใช้เวลาในการดูและถ่ายรูปน้อยไปหน่อย จึงได้รูปไม่ค่อยสวยมาก แล้วประวัติในส่วนต่างๆ เช่นการนอน การทำอาหาร การทอเสื้อผ้า หรือการละเล่นต่างๆ ก็เลยไม่ได้ถ่ายมาทั้งหมด แต่ทางที่ผู้จัดเค้าทำไว้ จะมีป้ายอธิบาย ค่อนข้างละเอียดทีเดียวครับ ก้ลองมาดูรูปกันคร่าวๆ
ทรงบ้านมองจากด้านล่าง
ตัวเรือนมองจากข้างนอก
อุปกรณ์สักหมึก
นี่เป็น หนังสือถวายบังคมเจ้าเมือง หรือกษัตริย์ และจาริต ฮิดบ้านกองเมือง เขียนขึ้นเมื่อ จ.ศ.1261 หรือ พ.ศ. 2442 มีอายุราว 11 ปี ผู้เขียน ยายแสง (หมายเหตุ ถ้านับถึงปีนี้ก็ประมาณ 115 ปี)
บ่อน้ำ
การปั่นฝ้าย คือพี่คนนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่หรือใคร แต่พอขอถ่ายรูปพี่แกยิ้มให้อย่างดี เลยขออนุญาตเอามาลงซะหน่อย
นี่เป็นกี่ทอผ้า
รองเท้า
นี่เป็นสภาพในครัว
นี่ก็ห้องนอน
ตุ่มน้ำสำหรับดื่ม หรือรับแขก จะวางอยู่หน้าบ้าน
ชุดรับแขก
ศิลปะการแสดงของชาวไทลื้อ
ได้แก่ ฟ้อนดาบ ฟ้องเจิง ตบมาผาบ ฟ้อนนก ฟ้อนปอยบั้งไฟ ขับเป่าปี่ วัฒนธรรมประเพณีการบวชลูกแก้ว ตานธรรม ตารก๋วยสลาก ตานเข้าพรรษา ออกพรรษา ฮ้องขวัญควาย แฮกนา เลี้ยงผีเมือง เตวดาเฮือน (เทวดาเรือน) ผีหม้อนึ่ง เตาไฟ ผิดผีสาว สืบชาตาหลวง กินแขก ประเพณีสงกรานต์
หากท่าใดสนใจก็ลองหาประวัติใน googel หรือลองอ่านที่ 2 เว็บนี้ครับ เค้าเขียนไว้ละเอียดพอสมควร
http://th.wikipedia.org/wiki/ไทลื้อ
http://www.kasetsomboon.org/ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ
โดยที่ป้าย ก็มีประวัติให้อ่าน ดังนี้
ประวัติความเป็นมา
ไตลื้อ (ไทลื้อ) มีถิ่นที่อยู่บริเวณเมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า "ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส (คุนหมิงในปัจจุบัน) แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มแม่น้ำโขง (สิบสองปันนาในปัจจุบัน) ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศพม่า ลาว และไทย
วิถีชิวิตความเป็นอยู่
การตั้งบ้านเรือนหรือหมู่บ้าน จะหาทำเลที่มีแม่น้ำ ลำคลองอยู่ใกล้หมู่บเาน สะดวกในการเพาะปลูก ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง พึ่งพาตนเอง ชาวไทลื้อมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เคารพนับถือพ่อแม่ ผู้มีอาวุโส ปู่ย่า ตาทวด และบรรพบุรุษ
เสียดายที่ใช้เวลาในการดูและถ่ายรูปน้อยไปหน่อย จึงได้รูปไม่ค่อยสวยมาก แล้วประวัติในส่วนต่างๆ เช่นการนอน การทำอาหาร การทอเสื้อผ้า หรือการละเล่นต่างๆ ก็เลยไม่ได้ถ่ายมาทั้งหมด แต่ทางที่ผู้จัดเค้าทำไว้ จะมีป้ายอธิบาย ค่อนข้างละเอียดทีเดียวครับ ก้ลองมาดูรูปกันคร่าวๆ
ทรงบ้านมองจากด้านล่าง
ตัวเรือนมองจากข้างนอก
อุปกรณ์สักหมึก
นี่เป็น หนังสือถวายบังคมเจ้าเมือง หรือกษัตริย์ และจาริต ฮิดบ้านกองเมือง เขียนขึ้นเมื่อ จ.ศ.1261 หรือ พ.ศ. 2442 มีอายุราว 11 ปี ผู้เขียน ยายแสง (หมายเหตุ ถ้านับถึงปีนี้ก็ประมาณ 115 ปี)
บ่อน้ำ
รองเท้า
นี่เป็นสภาพในครัว
นี่ก็ห้องนอน
ตุ่มน้ำสำหรับดื่ม หรือรับแขก จะวางอยู่หน้าบ้าน
ศิลปะการแสดงของชาวไทลื้อ
ได้แก่ ฟ้อนดาบ ฟ้องเจิง ตบมาผาบ ฟ้อนนก ฟ้อนปอยบั้งไฟ ขับเป่าปี่ วัฒนธรรมประเพณีการบวชลูกแก้ว ตานธรรม ตารก๋วยสลาก ตานเข้าพรรษา ออกพรรษา ฮ้องขวัญควาย แฮกนา เลี้ยงผีเมือง เตวดาเฮือน (เทวดาเรือน) ผีหม้อนึ่ง เตาไฟ ผิดผีสาว สืบชาตาหลวง กินแขก ประเพณีสงกรานต์
หากท่าใดสนใจก็ลองหาประวัติใน googel หรือลองอ่านที่ 2 เว็บนี้ครับ เค้าเขียนไว้ละเอียดพอสมควร
http://th.wikipedia.org/wiki/ไทลื้อ
http://www.kasetsomboon.org/ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ