ธนบัตรในประเทศไทย เริ่มมีการใช้ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการใช้ "เงินกระดาษ" เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ได้เรียกว่า "ธนบัตร" ใช้คำว่า "หมาย" เรียกแทน โดยออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2396
หากแต่ตอนนี้ธนบัตรไทยได้ออกมาถึงรุ่นล่าสุดเป็นแบบที่ 16 แล้ว จะมีใครสังเกตไหมว่า ธนบัตรบางรุ่นนอกจากจะเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ และพระราชกรณียกิจต่างๆ หรือเหตุการณ์ในสมัยรัชก าลนั้นๆ แล้ว บางแบบยังมี พระบรมราชโองการ พระราชดำรัส หลังธนบัตรไทย ที่มีคุณค่ามากอีกด้วย
วันนี้จะขอนำธนบัตรรุ่นที่มี ( หมายถึงที่ผู้เขียนได้มีเก็บไว้ตอนนี้) พระบรมราชโองการ พระราชดำรัมาลองให้อ่านกันครับ
ใบที่ 1 ธนบัตรใบละ 20 บาท แบบที่ 15
ด้านหลังเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และภาพสะพานพระราม 8
ใบที่ 2 ธนบัตรใบละ 100 บาท แบบที่ 15 (รุ่น 1) ด้านหลังเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า "การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้"
ใบที่ 3 ธนบัตรใบละ 100 บาท แบบที่ 15 (รุ่น 2) ด้านหลังเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาพการศึกษาของไทย
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า "ประเพณีทาสที่มีอยู่ในพระราชอาณาจักรสยาม ถึงเป็นวิธีทาสทำสารกรมธรรม์ ขายตัวด้วยใจสมัคร มิใช่ทาสเชลย ที่เป็นการกดขี่อย่างร้ายแรงก็จริง แต่เป็นเครื่องกีดขวางทางเจริญ ประโยชน์และสุขสำราญ ของมหาชนอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นจะต้องเลิกถอน อย่าให้มีประเพณีทาสในพระราชอาณาจักรนี้ กรุงสยามจึงจะมีความสมบูรณ์เท่าทันประเทศอื่น"
ใบที่ 4 ธนบัตรใบละ 100 บาทเป็น ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส และวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๓
ภาพประกอบด้านหลังธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดับด้วยลายดอกพิกุล 6 ดอก สื่อความหมายถึง การบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรยดอพิกุลเงิน ดอกพิกุลทอง พระราชทานแก่พราหมณ์และพระบรมวงศานุวงศ์ตามคติความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีนั้นเปรียบเสมือนสมมติเทพที่อุบัติลงมาจากสวรรค์ บริเวณพระราชมนเทียรจึงถือว่าเป็นดุจสวรรค์ ต้นพิกุลเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในอุทยานบนสวรรค์ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบ พระราชพิธีจึงมีการโปรยดอกพิกุลซึ่งเปรียบเหมือนดอกไม้สวรรค์ และเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งสมบูรณ์ เพื่อเป็นการให้สิ่งที่เป็นมงคลในพระราชพิธี
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
ใบที่ 5 ธนบัตรใบละ 500 บาทแบบที่ 14 ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ วัดอัมพวันเจติยาราม จ.สมุทรสงคราม
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า " ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนแลมนตรี" เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1
ใบที่ 5 ธนบัตรใบละ 1000 บาทแบบที่ 15 พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า "เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัว"
เห็นไหมละครับว่าแต่ละพระองค์พระราชทานพระบรมราชโองการ พระราชดำรัส แต่มีคนไทยสักกี่คนจะมาอ่าน ??
ที่มาบางส่วนจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หากแต่ตอนนี้ธนบัตรไทยได้ออกมาถึงรุ่นล่าสุดเป็นแบบที่ 16 แล้ว จะมีใครสังเกตไหมว่า ธนบัตรบางรุ่นนอกจากจะเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ และพระราชกรณียกิจต่างๆ หรือเหตุการณ์ในสมัยรัชก
วันนี้จะขอนำธนบัตรรุ่นที่มี ( หมายถึงที่ผู้เขียนได้มีเก็บไว้ตอนนี้) พระบรมราชโองการ พระราชดำรัมาลองให้อ่านกันครับ
ใบที่ 1 ธนบัตรใบละ 20 บาท แบบที่ 15
ด้านหลังเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และภาพสะพานพระราม 8
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า "ถ้าคนไทยทุกคน ถือว่าตนเองเป็นเจ้าของชาติบ้านเมืองและต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดี ด้วยความสุจริตและถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมือง ก็จะผ่านพ้นไปได้"
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า "การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้"
ใบที่ 3 ธนบัตรใบละ 100 บาท แบบที่ 15 (รุ่น 2) ด้านหลังเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาพการศึกษาของไทย
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า "ประเพณีทาสที่มีอยู่ในพระราชอาณาจักรสยาม ถึงเป็นวิธีทาสทำสารกรมธรรม์ ขายตัวด้วยใจสมัคร มิใช่ทาสเชลย ที่เป็นการกดขี่อย่างร้ายแรงก็จริง แต่เป็นเครื่องกีดขวางทางเจริญ ประโยชน์และสุขสำราญ ของมหาชนอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นจะต้องเลิกถอน อย่าให้มีประเพณีทาสในพระราชอาณาจักรนี้ กรุงสยามจึงจะมีความสมบูรณ์เท่าทันประเทศอื่น"
ใบที่ 4 ธนบัตรใบละ 100 บาทเป็น ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส และวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๓
ภาพประกอบด้านหลังธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดับด้วยลายดอกพิกุล 6 ดอก สื่อความหมายถึง การบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรยดอพิกุลเงิน ดอกพิกุลทอง พระราชทานแก่พราหมณ์และพระบรมวงศานุวงศ์ตามคติความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีนั้นเปรียบเสมือนสมมติเทพที่อุบัติลงมาจากสวรรค์ บริเวณพระราชมนเทียรจึงถือว่าเป็นดุจสวรรค์ ต้นพิกุลเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในอุทยานบนสวรรค์ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบ พระราชพิธีจึงมีการโปรยดอกพิกุลซึ่งเปรียบเหมือนดอกไม้สวรรค์ และเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งสมบูรณ์ เพื่อเป็นการให้สิ่งที่เป็นมงคลในพระราชพิธี
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
ใบที่ 5 ธนบัตรใบละ 500 บาทแบบที่ 14 ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ วัดอัมพวันเจติยาราม จ.สมุทรสงคราม
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า " ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนแลมนตรี" เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1
ใบที่ 5 ธนบัตรใบละ 1000 บาทแบบที่ 15 พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
ข้อความด้านหลังธนบัตร เขียนว่า "เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัว"
เห็นไหมละครับว่าแต่ละพระองค์พระราชทานพระบรมราชโองการ พระราชดำรัส แต่มีคนไทยสักกี่คนจะมาอ่าน ??
ที่มาบางส่วนจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย