Krabi lucky Windmill (กังหันโชคดี)
ประติมากรรมนี้เป็นสัญญลักษณ์ของการท่องเที่ยวทะเลอันดามันแห่งใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตาและอุทยานเรียนรู้จังหวัดกระบี่ เป็นหมุดมายสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้เห็นและจดจำว่าท้องถิ่นนี้มีธรรมชาติอันสมบูรณ์และสวยงาม โดยลักษณะอาคารตั้งโดดเด่นเห็นตระหง่าน มีความสูง 14.42 เมตร รูปอาคารเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7.00 เมตร ประติมากรรมเป็นลักษณะประภาคารที่มีกังหันใช้พลังงานลมมาผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นหอนาฬิการที่คอยบอกเวลา ตำแหน่งที่ตั้งอาคารสามารถเป็นจุดสังเกตุของประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้ชม และจะเป็นภาพที่ระลึกที่ครั้งหนึ่งเคยมาเยือนสถานที่แห่งนี้
โครงการนี้ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างจาก ดร.สมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563
แนวคิดในการออกแบบ
1.กังหันลมนำแนวความคิดรูปแบบอาคารกังหันลมแบบเนเธอร์แลนด์ที่มีลักษณะเด่นเรื่องการนำพลังงานลมมาใช้ให้เกิดคุณค่า โดยนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อการประหยัดพลังงาน
2. ใบพัดกังหันลม นำแนวความคิดกังหันนำโชค “แชกงหมิว” โดยใบพัดแต่ละใบสลักคำนำโชคที่เป็นสิริมงคลไว้ และใบพัดทั้งสี่ใบขับเคลื่อนโดยแรงลมที่จะหมุนดึงดูดนำพาสิ่งดีเข้ามาในชีวิต ให้มีความผาสุก ร่มเย็น ปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากชีวิต มีโชคลาภ สมความปรารถนา และยังหมายถึงความปลอดภัยในชีวิตและการเดินทาง
3. ประภาคารรูปทรงแปดเหลี่ยมดูโดดเด่นสง่างามในความเชื่อของลัทธิเต๋าจีนโบราณ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งป้องกันอันตราย หยุดพลังงานทางลบ อีกทั้งความสูงและแสงไฟของประภาคารเป็นหมุดหมายนำทางสำหรับชาวเรือ สื่อให้เห็นถึงเรื่องราวความผูกพันในอดีตของเมืองกระบี่ ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับท้องทะเล
4. ประติมากรรม เต่าทะเล ม้าน้ำ และผู้หญิงเกาะปลาโลมา ใช้กลไกขับเคลื่อนออกมานอกช่องหน้าต่างได้ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่พึ่งพากันมาแต่ช้านาน และแสดงความต้อนรับผู้มาเยือนด้วยมิตรภาพที่ดี
5. ฐานประติมากรรมเป็นรูปวงกลม โดยออกแบบให้เป็นวงเวียนเพื่อแก้จุดตัดของถนน สามารถควบคุมการไหลเวียนของยานพาหนะ ลดอันตรายและอุบัติเหตุจากการจราจร
6. เป็นหอนาฬิกาที่คอยบอกเวลาแก่สาธารณะชน
KRABI LUCKY WINDMILL
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น