การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์



          หากบริษัทของท่านเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดำเนินการด้านธุรกิจการกวดวิชาทุกระดับชั้นตั้งแต่ มัธยมต้น มัธยมปลาย จนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีหลายสาขาทั่วประเทศ และมีแผนที่จะต่อยอดธุรกิจกวดวิชาในโลกออนไลน์  ท่านคิดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศดังต่อไปนี้ สามารถสนับสนุนธุรกิจของท่านอย่างไรในเชิงกลยุทธ์ 
1.             Web service
2.             Cloud computing 
3.             Knowledge Management

ตอบ
               ค่านิยมในการเรียนกวดวิชาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมตอนปลายจนถึงระดับมหาวิทยาลัย   ส่งผลให้ธุรกิจกวดวิชาเติบโตและมีมูลค่าตลาดสูง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิจัยไว้ว่า  “ ประมาณการมูลค่าตลาดธุรกิจกวดวิชาในปี 2556 ไว้ที่ประมาณ 7,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท และจะเติบโตไปสู่ 8,189 ล้านบาทในปี 2558 หรือเติบโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.4 ต่อปี โดยคาดว่าจะมีปัจจัยหนุนมาจากการเพิ่มราคาค่าเรียนต่อหลักสูตรและจำนวนนักเรียนที่เรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความท้าทายที่อาจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจกวดวิชาในอนาคต ได้แก่ ทางเลือกของนักเรียนในการเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่มากขึ้น ทั้งการเปิดหลักสูตรภาคพิเศษและหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยรัฐบาล การยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยเอกชน รวมถึงการจัดกิจกรรมการตลาดของผู้ผลิตสินค้าในรูปแบบการเปิดติววิชาต่างๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
             เนื่องจากทางบริษัทของเราเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ในการดำเนินการด้านธุรกิจการกวดวิชาทุกระดับชั้นตั้งแต่ มัธยมต้น มัธยมปลาย จนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีหลายสาขาทั่วประเทศ และมีแผนที่จะต่อยอดธุรกิจกวดวิชาในโลกออนไลน์ เราจะสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศดังต่อไปนี้ เช่น Web service , Cloud computing และ Knowledge Management  มาสนับสนุนธุรกิจในเชิงกลยุทธ์ ได้ดังนี้
                1.Web   Service
               
Web Service เป็นระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านระบบเครือข่าย  โดยมี XML เป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ด้วยเหตุนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ , Smartphone , iPad , iPhone , Android , Tablet และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งสนันสนุนการทำงานกับ Web Service จึงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ผ่านระบบเครือข่ายที่อุปกรณ์นั้นๆ เชื่อมต่อกันอยู่ ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานของ web service


รูปที่ 1. ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานของ web service
ที่มาภาพ
http://www.9experttraining.com/sites/default/files/content_types/training_course/web-service-2.jpg

                เทคโนโลยี web service สามารถสนับสนุนธุรกิจการกวดวิชา คือ
                1.เป็น Open Standard  ง่ายในการพัฒนาโปรแกรม โดยการ implement Web Services   
                2.พันธมิตรทางการค้าสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยการค้นหาจาก
UDDI
                3. การดำเนินธุรกิจการค้าและบริการสามารถเป็นไปได้แบบอัตโนมัติในระดับของ Application to Application (A2A) โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทาง Web Services 
                4. Web Services สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจตามเฟรมเวิร์คของ ebXML
              5.ง่ายต่อการนำไปใช้งานเนื่องจากในปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ใช้ช่วยเหลือในการพัฒนา Web  Services  
                6.ลดต้นทุนในการพัฒนาระบบบางอย่างที่ไม่จำเป็นโดยขอบริการจาก
Web Services ของพันธมิตรทางการค้า
                7. การพัฒนาประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างองค์กรและการทำงานเป็นทีม เพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมีทิศทางในการดำเนินการเดียวกัน (
Direction) การดำเนินการอย่างรวดเร็ว (Speed) การดำเนินงานอย่างโปร่งใส (Transparency) และความรับผิดชอบ (Responsibility) 
                8. สาขาต่างๆมีการเรียกใช้ข้อมูลจากสาขาอื่นๆ เป็นเครื่องมือหรือรูปแบบการทำงานขององค์กร ในกรอบการบริหารแบบบูรณาการ
                9. ง่ายต่อการนำไปใช้งานเนื่องจากในปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ใช้ช่วยเหลือในการพัฒนา
Web Services  เนื่องจากรูปลักษณ์รูปแบบในการใช้งาน เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ในทุกๆเครื่องมือ  เนื่องจากเครื่องมือต่างๆ ดึงข้อมูลไปจาก Web Service เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยใช้งานได้ง่ายๆ กับทุกๆ เครื่องมือ
                10. ลดต้นทุนในการพัฒนาระบบบางอย่างที่ไม่จำเป็น

                2. Cloud computing 
               
Cloud Computing (การประมวลผลแบบก้อนเมฆ )คือ การพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งคำว่าก้อนเมฆนั้นเป็นอุปมาของระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการที่มีการวาดรูประบบอินเทอร์เน็ตด้วยรูปก้อนเมฆ รูปแนวคิดของ Cloud computing ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 แนวคิดของ Cloud computing
ที่มาภาพ
: http://www.slideshare.net/imcinstitute/cloud-computing-19987871
               การเชื่อมต่อของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการซ่อนโครงสร้างซับซ้อนที่อยู่ภายในของระบบอินเทอร์เน็ตการประมวลผลแบบก้อนเมฆ เป็นรูปแบบของการประมวลผลที่ความสามารถในการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศจะมีการจัดสรรในรูปแบบของบริการ   (as a service) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ จากระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องมีความรู้หรือความเชี่ยวชาญหรือมีความสามารถในการควบคุมโครงสร้างทางเทคโนโลยีที่ให้บริการแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งข้อมูลสารสนเทศจะถูกเก็บบันทึกบนเครื่องแม่ข่ายบนระบบอินเทอร์เน็ต และมีการสำรองไว้ชั่วคราวในรูปแบบของแคช (cache) บนเครื่องลูกข่ายซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุค  อุปกรณ์พกพา โทรศัพท์มือถือ และอื่น ๆ
               
 
เทคโนโลยี Cloud computing  สามารถสนับสนุนธุรกิจการกวดวิชา คือ
1. ในด้านการจัดทำและใช้งานระบบ  การจัดสร้างและการใช้งานระบบ Application ต่าง ๆ  สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาน้อย ยืดหยุ่นในการใช้บริการ สามารถปรับเพิ่ม ลด Resource บน Cloud ได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องวุ่นวายเรื่องระบบ และไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ Hardware เพิ่มเติม          
2.  ในด้านการลงทุน มีค่าใช้จ่ายและใช้งบประมาณในการจัดทำระบบต่ำ
3.  ในด้านการใช้งานระบบ การใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่าน Internet ซึ่งมีข้อจำกัดด้านพื้นที่น้อย และสามารถใช้อุปกรณ์ลักษณะต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น  Mac  , Windows PC , Desktop computer , Laptop  ,Touch screen , iPhone,  iPad ,iPod Touch ,Android phones, Android tablets, Blackberry devices,Windows Phone เป็นต้น
4.  ในด้านการปรับปรุงระบบ สามารถจัดทำโปรแกรมเสริมหรือเพิ่มเติมขึ้นเองได้โดย Provider ที่ให้เราเช่าใช้พื้นที่ และสามารถเลือกใช้บริการเสริม เช่น
Additional Storage    200 บาท / 50 GB / เดือน
ค่า Public IP address 200 บาท / IP address / เดือน
5.  หากต้องการใช้ Public cloud ก็ยังมีบริการฟรีของที่อื่นๆ ที่เราสามารถจะแชร์ข้อมูลให้กับนักเรียน หรือสาขาอื่นๆๆในการใช้งานได้ 


       
                              รูปที่ 3 แสดงตัวอย่าง Public Cloud
ที่มาภาพ : http://www.slideshare.net/imcinstitute/cloud-computing-19987871

6.  มีความปลอดภัยสูง     ไม่ต้องกังวลเรื่องระบบล่ม หรือกลัวการโดนแฮกเกอร์เข้ามาป่วน ระบบ Cloud ให้มีความปลอดภัยสูงโดยใช้ระบบ Firewall, Backup และระบบความปลอดภัยที่ได้รับมาตรฐานสากล

                3. Knowledge Management
                การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
          2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
                    ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทกับสังคม สถาบันการศึกษาก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญ ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนกวดวิชา  ในส่วนของระบบศึกษาจึงต้องเน้นในเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มากกว่าเน้นการจัดการสารสนเทศ (Management of Information Technology) เพื่อที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็นแหล่งองค์ความรู้และองค์กรในการถ่ายทอดความรู้ สถาบันการศึกษาสามารถ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อบรรลุเป้าหมายได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้เทคโนโลยีเว็บในการเผยแพร่ความรู้ Search Engine ใน การค้นหาข้อมูลที่ต้องการระบบฐานข้อมูลในการเก็บองค์ความรู้ ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนต์ในการถ่ายทอดความรู้ทางไกล ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษา หลายแห่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนในโครงการต่าง ๆ เช่น eUniversity, eLibrary, eClassroom, eLearning หรือ Itcampus เป็นต้น ฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการเรียนและวิจัย
                เทคโนโลยี Knowledge Management สามารถสนับสนุนธุรกิจการกวดวิชา คือ
                1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอดและสามารถแข่งขันกับสถาบันกวดวิชาอื่นๆได้  และเป็นการลงทุนทางทรัพยากรบุคคล การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการเรียนรู้ร่วมกัน
                2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 
                3. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นเป็นการ พัฒนาคนและพัฒนาองค์กร 
                4. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผลและน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
                5. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงานหรือระหว่างสาขาในโรงเรียนกวดวิชาด้วยกัน  
                6
. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที 
                7. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร
                8. เพื่อการสร้างสรรค์ เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจ / แนวดิ่ง สู่ วัฒนธรรมความรู้ / แนวราบ 
                9. การจัดการความรู้ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาด และการแข่งขันทำให้เพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับสถาบันอื่นๆที่เป็นคู่แข่งขันในตลาด
                10
. การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการพัฒนาความสามารถขององค์กรในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ การนำการจัดการความรู้มาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ 
                11. การบริหารลูกค้า การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจและเพิ่มยอดนักเรียนในสถาบันกวดวิชาได้
                 




SHARE

Southern Man

This blog www.whoknown.com ,write to prevent forgotten .

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Advertisement